Soul Scientist

26 มีนาคม 2023

คำแนะนำสำหรับคนที่มีปัญหาสมาธิ

Soul Scientist

26 มีนาคม 2023

นัดหมาย

คำแนะนำสำหรับคนที่มีปัญหาสมาธิ


พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ: 
หากมีอาการขาดสมาธิ ขาดวินัยและการกำกับตัวเอง หรืออาการต่างๆ เบื้องต้น แนะนำให้เข้ารับการตรวจประเมินอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้วินิจฉัยที่แน่ชัด ซึ่งสำคัญต่อการวางแผนดูแลรักษาและเพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่ตรงกับปัญหาอย่างแท้จริง
โดยแพทย์จะตรวจประเมินโดยละเอียดทั้งสาเหตุของปัญหาสมาธิ หรือภาวะร่วมอื่นๆ เช่น โรคทางอารมณ์ (วิตกกังวล, ซึมเศร้า, หรืออารมณ์สองชั้ว) โรคเกี่ยวกับพัฒนาการด้านอื่น (สังคม, การเรียน) หรือ สารเสพติด


แม้จะได้ข้อมูลของอาการโดยตรง แต่การวินิจฉัยให้แม่นยำก็ยังมีส่วนที่ซับซ้อนและควรต้องประกอบด้วยข้อมูลจากหลายด้าน 
แพทย์มักจะแนะนำให้นำเอกสารที่มีข้อมูลประจำตัว หรือพาคนใกล้ชิดที่อนุญาตให้แพทย์ซักถามประวัติได้มาร่วมในกระบวนการตรวจประเมิน


หาทางเข้าใจตนเอง: 
เมื่อได้รับการตรวจประเมินที่ถูกต้อง หลายคนจะเกิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับตนเอง เพราะเป็นภาวะที่เกี่ยวข้องมาตลอดกับพัฒนาการโดยตรงจึงมีผลต่ออัตลักษณ์ของคนที่เป็นสมาธิสั้น การยอมรับตัวตนในส่วนนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเริ่มต้นจัดการส่วนที่นำมาซึ่งปัญหา ขณะเดียวกันความเข้าใจและการยอมรับของคนรอบข้าง ก็จะมีส่วนช่วยอย่างมากให้สามารถเผชิญหน้าและรับมือกับภาวะนี้ได้

หาข้อมูล: 
หาข้อมูล เนื่องจากภาวะนี้เป็นภาวะเรื้อรัง ดังนั้นการที่เรารู้จักภาวะสมาธิสั้นเป็นอย่างดี มีทักษะความเข้าใจและปรับตัว เพื่อที่จะอยู่กับภาวะนี้และรักษาตนเองได้ ซึ่งในปัจจุบันมีแหล่งข้อมูลมากมายที่เป็นประโยชน์

หาวิธีจัดการ: 
การใช้ยาที่ถูกต้อง ถึงแม้ว่า สมาธิสั้น คือ ความบกพร่องที่ดูน่ากังวล แต่ก็ต้องถือว่าเป็นภาวะที่มีการศึกษาอย่างกว้างขวางและเป็นโรคที่การรักษามีประสิทธิภาพ โดยต้องยอมรับว่าการใช้ยาร่วมด้วยให้ประสิทธิภาพมากกว่าการจัดการพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว เมื่อปรับยาได้เหมาะสม มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ได้ผลการรักษาที่ดี


การใช้ตัวช่วยที่ตรงกับปัญหา แม้จะเป็นภาวะเดียวกัน แต่การขาดสมาธิแต่ละคนก่อให้เกิดปัญหาในรูปแบบที่แตกต่างกัน หลายครั้งเราพบว่าคำแนะนำทั่วไปไม่ได้ผลกับผู้มีภาวะสมาธิสั้น แต่สิ่งที่ช่วยเพิ่มสมาธิได้แน่นอนและแนะนำในทุกคน คือการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สร้างวินัยในการตื่นการนอน มีตารางเวลาชีวิตประจำวัน ฝึกการผ่อนคลาย และฝึกสติสมาธิ เช่นการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ดูแลโภชนาการให้ดี  ฝึกดูแลภาวะอารมณ์ให้เป็นบวก และในระหว่างทำงานแนะนำให้ใช้การพักสมอง 10 นาทีเป็นระยะ ฝึกจินตนาการเป้าหมายที่ตั้งไว้ ฝึกใช้คำพูดที่เป็นแรงจูงใจด้านบวก และฝึกให้รางวัลตนเอง

การใช้สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตนเองมีสมาธิ ลดสิ่งเร้า อย่างเช่น การจัดโต๊ะที่ทำงาน อ่านหนังสือหรือทำงานกับคนที่มีระเบียบ การลงโปรแกรมทำงานในคอมพิวเตอร์คนละเครื่องกับที่ใช้พักผ่อน การพาตัวเองไปอยู่กับงานที่สนุก น่าตื่นเต้น กระบวนการทำงานที่ไม่น่าเบื่อก็ช่วย ทำให้ทำงานมีประสิทธิภาพได้

คำแนะนำสำหรับคนที่มีปัญหาสมาธิ

บทความที่เกี่ยวข้อง

We use cookies on our website to provide the most relevant experience, remembering your preferences and repeated visits. By clicking "Accept", you agree to the use of ALL cookies.